เมนู
จดหมายข่าว
กล่องอิสระ
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2012
อัพเดท12/04/2013
ผู้เข้าชม1311997
แสดงหน้า2729271
คำค้น




ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 6

อ่าน 6413 | ตอบ 0

พระฤษีวิศวามิตร (ไม่มีภาพ)








พระฤาษีพฤหัสบดี



 


 

พระฤษีพรหมจุลี


    ท่านเป็นพระราชบิดาของ ท่านท้าวพรหมทัต ผู้ยิ่งใหญ่และมีคุณธรรมแห่ง นครกามปิลย์ ท้าวพรหมทัตเป็นมานัสบุตร ซึ่งเกิดขึ้นด้วยใจของพระจุลีพรหมฤษีคำว่ามานัสบุตรและการเกิดขึ้นด้วยใจนั้นมิใช่ว่าจะเป็นเรื่องเหลวใหลเนื่องจากผู้ที่สำเร็จในตบะฌานได้ขึ้นไปปฏิบัติอยู่บนสวรรค์ไม่ว่าจะเป็นชั้นเทพหรือชั้นพรหมท่านจะมีบารมีมากมายถึงขั้นที่ว่าต้องการอะไรก็จะต้องได้สมกับเจตนา มโนนึก ที่เรียกกันว่า เสวยทิพย์สมบัติ ในที่นั้นจะต้องกลายเป็นทิพย์ทั้งหมด เช่น อยู่่ปราสาททิพย์ วิมานทิพย์ บัลลังก์ทิพย์ แท่นทิพย์(ทิพยอาสน์) อาหารทิพย์ โภชนาทิพย์ เสื้อผ้าอาภรณ์ทิพย์ กายทิพย์ และกายก็ยังเป็นทิพย์ตลอดเวลาเมื่อต้องการสิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้นมาทุกครั้งที่ต้องการ    เมื่อท่านต้องการที่จะมีบุตรหรือธิดา ก็เพียงแต่สัมผัสกันด้วยใจคือมีความนึกคิดว่าจะมีเ้ท่านั้นเองก็จะเกิดขึ้นมาตามความต้องการ มิต้องมีการสัมผัสกันด้วยกายเหมือนมนุษย์
   ในกาลครั้งนั้น ยังมีกษัตริย์ที่สละสมบัติอีกพระองค์หนึ่งซึ่งตั้งตน บำเพ็ญตบะเป็นพระฤษีทรงพระนามว่า พระกุศนาภ  มีพระราชธิดาทั้งหมดถึง ๑๐๐ นาง แต่ละนางมีความงดงามต้องตาต้องใจ ของผู้ที่ได้พบเห็นและความงามนี้ก็เท่าเทียมกันทุกนางด้วย อยู่มาวันหนึ่ง ซึ่งจะต้องบังเอิญให้เกิดเหตุอันที่จะต้องบันทึกไว้เป็นประวัติ นางทั้งร้อยได้ออกมาจากสถานที่อยู่อาศัย  เพื่อออกไปเที่ยวเล่นและเก็บดอกไม้ผลไม้ในป่ากันอย่างสนุกสนานต่างก็กระเซ้าเย้าแหย่กันมาตลอดทาง พอดีมาพบกับพระพายในระหว่างทางไนป่าเปลี่ยวพระพายเห็นนางทั้งร้อยมีความสวยงามเป็นที่น่ารักและถูกใจจึงตรงเข้าไปขอความรัก  และขอร่วมรักกับนางทั้งร้อยนั้น  แต่ทุกนางก็ไม่มีใครยอมตกลงมิหนำซ้ำยังช่วยกันรุมล้อมทำการขับไล่ให้พระพายไปจากที่นั่น พระพายทั้งโกรธและอายจึงกลั่นแกล้งสาปให้นางทั้งร้อยกลายเป็นนางค่อม(กันยากุพชา)กันทั้งหมดทุกนาง แล้วพระพายก็จากไปโดยไม่หันมามองอีกเลยว่านางทั้งร้อยจะบังเกิดความทุกขอย่างไร
   นับแต่นั้นมา นครหลวงของพระกุศนาภจึงมีนามเรียกขานกันต่อๆมาว่า นครกานยกุพช์  เพราะเป็นเมืองที่อยู่ของ  กันยากุพชานางค่อมทั้งร้อยนั่นเอง ท่านท้าวกุศนาภก็มีความคั่งแค้น ที่พระธิดาของท่านต้องกลายมาเป็นนางค่อมโดยการกลั่นแกล้งของพระพาย แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรได้ ในที่สุดพระกุศนาภก็ยกพระธิดาพิการทั้งร้อยนางใหักับท่านท้าวพรหมทัตกษัตริย์แห่ง นครกามปิลย์ไปเป็นชายา ด้วยเหตุที่ว่าท่านท้าวพรหมทัต  ท่านเป็นมานัสบุตร คือ  บุตรที่เกิดจากใจพระจุลีพรหมฤษี  จึงเป็นผู้ที่มีบารมีมากดังนั้นพอท่านท้าวพรหมทัตรับนางทั้งร้อย แล้วพากลับเข้าสู่พระราชฐานแล้ว เพียงแตสัมผัสแตะต้องตัวนางค่อมเท่านั้น ทุกนางก็กลับกลายเป็นหญิงผู้มีรูปโฉมงดงามหายจากการพิการหมดสิ้นทั้งร้อยนาง
   นี่คือประวัติย่อๆของพระพรหมฤษีจุลี ที่มีทั้งอภินิหารและบารมีอันล้นพ้นหากท่านผู้อ่านมีศรัทธาและนับถือท่านก็ทำพิธีกราบ
กราบไหว้ขอพรบารมีจากท่าน บางทีท่านอาจจะประทานให้ก็ได้....

 
 

พระอาฬารดาบสกาลามโคตร(ผู้เป็นพระอาจารย์เอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) 

                 ท่านเป็นพระอาจารย์เอกของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันนี้ ท่านก็ยังละสังขารจากโลกมนุษย์ ขึ้นไปเสวยสุขอยู่บนทิพย์วิมานในชั้นพรหมโลกนี้ด้วยเหมือนกัน จนกว่าจะสิ้นอายุขัย
ต่อมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้วก็ทรงดำริที่จะไปแสดงธรรม และก็คิดว่าจะแสดงธรรมในที่ใดกับผู้ใดก่อน ซึ่งจะโปรดเป็น
คนแรกเมื่อพระองค์ระลึกได้ว่า เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงออกผนวชใหม่ๆ ก็ได้อาศัยพระอาฬารดาบสนี้ เป็นอาจารย์ผู้สั่งสอนในสิ่งต่างๆ ถึงแม้ว่าสิ่งที่ท่าน
สอนนั้นจะไม่บรรลุก็ตามก็ยังจัดว่า พระอาฬารดาบสท่านนี้ ก็ยังนับว่ามีพระคุณอันยิ่งใหญ่อยู่นั่นเอง ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความฉลาด กิเลสน้อย
ปัญญาก็ดี มีความสามารถที่จะรู้ได้เร็วกว่าผู้อื่น ด้วยเหตุนี้จึงคิดที่จะทรงแสดงธรรมโปรด เพื่อที่จะให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เพียงแต่พระพุทธเจ้าทรงเล็งทิพย์ญานดู ก็รู้ว่าท่านพระอาฬารดาบสได้ละสังขารตายไปเสียแล้ว ก่อนหน้าที่พระองค์จะได้ตรัสรู้เพียง ๗ วัน เท่านั้น
แล้วขึ้นไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม อยู่ในชั้นที่ ๑๙ นั่นเองจึงหมดโอกาสที่จะแสดงธรรมโปรด ให้บรรลุธรรมขั้นวิเศษ ที่จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ต่อไปไ ด้
เพราะไม่มีตัวตน ไม่มีวิญญาณที่จะได้สดับรับฟัง
      พระอาฬารดาบสจึงหมดโอกาสที่จะได้เป็นพระอรหันต์ และหมดโอกาส
ที่จะให้พระพุทธเจ้า นำพามุ่งสู่ ศิวาโลกแดนพระมหานิพพานได้อีกแล้ว จึง
ต้องเสวยทิพย์อยู่ในวิมานอากาศเป็นอรูปพรหม ต่อไปถึงแปดหมื่นมหากัปป์.....



พระฤษีสุเมธ (ไม่มีภาพ)

             พระฤษีองต์นี้บำเพ็ญพรตอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ท่านสามารถใช้คาถาอาคมของท่านในการล่องหนหายตัว ผูกจิต สะกดจิต สะกดทัพ เรียกลม เรียกฝนเรียกน้ำ เรียกไฟ ได้ตามความต้องการของท่าน ก็นับได้ว่าในดินแดนแห่งป่าหิมพานต์นั้น ยากนักที่จะมีพระฤษีองค์ใดมีความสามารถ เสมอเหมือนกับพระฤษีสุเมธได้ดังประวัติและเรื่องราวของท่าน หลังจากที่มหายมยักษ์ หรือท้าวศากยวงศา ผู้ครอบครองเมืองบาดาลได้สวรรคตไปแล้ว ท้าวไมยราพณ์ผู้เป็นโอรสก็ขึ้นครองบาดาลสืบไป ในด้านวิชาความรู้ก็ยังมีน้อยนัก จึงต้องไปร่ำเรียนวิชาอาคมกับพระฤษีสุเมธ อยู่ในอาศรมแห่งป่าหิมพานต์นั้น พระฤษีก็อบรมสั่งสอนให้ไมยราพณ์ได้ท่องบ่นมนตร์ที่สำคัญๆ จนกระทั่งเชี่ยวชาญและมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี ทั้งในด้านคงกระพันชาตรี ล่องหน กำบังกาย หายตัว สะกดทัพ สะกดจิต ผูกใจ เรียกฝน เรียกลม เรียกน้ำ เรียกไฟ ได้อย่างแม่นยำครบถ้วนทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยความขยันหมั่นเพียรและเอาจริงเอาจัง และไมยราพณ์ก็มีนิสัยดี ว่านอนสอนง่าย จึงทำให้พระฤษีสุเมธมีความรักต่อไมยราพมาก ไม่ว่าจะมีอะไรก็ไม่ปิดบังนำเอามาถ่ายทอดอบรมสั่งสอนให้จนหมดสิ้น ในที่สุดพระฤษีสุเมธก็ทำพิธีถอดดวงใจให้ไมยราพณ์เพื่อจะได้อยู่ยงคงทน ใครฆ่าก็ไม่ตาย พระฤษีทำพิธีสะกดจิตวิญญานและดวงใจด้วยการนั่งบริกรรมพระคาถาไศยาคมด้วยดวงจิตที่มุ่งมั่นและแน่วแน่ ด้วยตบะและบารมีฌานของท่าน ครั้นแล้วในไม่ช้านักดวงใจของไมยราพณ์ก็ลอยออกมาทางปาก แล้วจึงกลายเป็นแมลงภู่ บินวนเวียนอยู่รอบปรำพิธี เป็นการทักษิณาวัฏครบ ๓ รอบ แล้วพระฤษีสุเมธก็เรียกให้แมลงภู่บินเข้ามาใกล้ จับใส่ผอบแล้วจึงส่งให้ไมยราพณ์ ให้นำเอาไปเก็บซ่อนไว้มิให้มีผู้ใดรู้เห็น ที่ในถ้ำลึกยอดเขาตรีกูฏ พร้อมทั้งกำชับว่าอย่าบอกใครเป็นอันขาด ไมยราพณ์จะได้มีชีวิตอยู่ยืนยงถาวรสืบต่อไป ทั้งหนังก็เหนียวใครฆ่าไม่ตาย ไม่มีใครทำลายชีวิตไมยราพณ์ได้
            นี่ก็คือประวัติอันศักดิ์สิทธิ์ด้วยฤทธาบารมีของพระฤษีสุเมธ....

             พระฤษีสุเมธ สวมชฎาดอกลำโพง หรือเทริดยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นอาจารย์ของไมยราพณ์ บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาป่าหิมพานต์....




พระฤษีครรคยมุนี (ไม่มีภาพ)

               ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับพระฤษีองค์นี้ก็คือ ท้าวยุธาชิต โอรสของท้าวอัศวบดี มีปุโรหิตประจำคือ พระฤษีอังคีรส ซึ่งพระฤษีครรคยมุนีนี้ก็เป็นบุตรของพระฤษีอังคีรสเชื่อมโยงกันดังนี้
              วันหนึ่งท้าวยุธาชิตได้ให้พระฤษีอรรคคย ไปร้องเรียนให้พระรามทราบว่าบัดนี้ในปัญจนัทยเทศ มีคนธรรพ์ที่ดุร้ายอยู่เป็นจำนวนสามสิบโกฏิ ได้รบกวนและรังแกชาวบ้านชาวเมืองตลอดจนกระทั่งฤษีชีพราหมณ์ในป่าของแคว้นเกกัยชนบทเป็นประจำได้รับความเดือดร้อนกันอย่างหนัก ขอให้พระรามไปช่วยปราบคนธรรพ์นั้นด้วยเถิด หากขืนปล่อยเอาไว้เช่นนั้นแล้วมันก็จะต้องมีความดุร้ายมากขึ้นไปอีก
            พระรามจึงให้พระภรต พร้อมด้วยพระตักษ์และพระบุษกร ผู้ที่เป็นโอรสของพระภรตทั้งสอง ให้ยกกองทัพไปปราบคนธรรพ์และพระรามยังกำชับว่า ถ้าหากชนะศึกปราบคนธรรพ์ได้แล้ว ให้แบ่งเมืองให้กับพระตัษ์และพระบุษกรคนละครึ่งพระนคร พระภรตกับพระโอรสทั้งสองก็ยกกองทัพไป สมทบกับกองทัพของท้าวยุธาชิต แล้วก็ปราบคนธรรพ์สามสิบโกฏิได้สำเร็จ
พระพรตก็จัดแบ่งปัญจนัทยเทศออกเป็นสองเขต แล้วจึงสร้างพระนครให้
พระตักษ์เป็นนครหลวง มีนามว่า นครตักษศิลา มาในภายหลังเรียกเพี้ยน
ไปเป็น ตักกะศิลา แล้วก็สร้างเมืองหลวงให้กับพระบุษกร มีนามว่า นครบุษ
กราวดี มาจนถึงบัดนี้
          ทั้งสองพระนครและพระราชาใหม่ ทรงปกครองด้วยทศพิธราชธรรมจึงเป็นที่รักของปวงประชาราช และยังส่งเสริมบรรดาผู้ทรงศีลอีกด้วย ได้จัด
สร้างสถานที่แล้วอัญเชิญให้พระฤษีในป่าทั่วๆไป ให้มาบำเพ็ญตบะสร้าง
บารมี ภายในเขตแดนทั้งสองพระนคร
        พระฤษีทั้งหลายก็ประทานพรให้กับพระราชาใหม่ทั้งสองพระนครให้อยู่เย็นเป็นสุขหมดสิ้นทุกข์ภัยจากมารร้ายทั้งปวง ทั้งพระฤษีก็มีความเป็นอยู่
ที่สะดวกสบายไม่มีรากษสและอสูรมาคอยรังแกรบกวนให้ได้รับความเดือด
ร้อนอีกเลย....




พระฤษีสมมิตร (ไม่มีภาพ)

  ท่านผู้นี่ได้บำเพ็ญภาวนาอยู่ในป่าจนมีชื่อเสียงโ่ด่งดังเลื่องลือไปไกล ก็
เพราะความดีความชอบและการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของท่าน จนเป็นที่ยก
ย่องกันในวงการพระฤษี สำนักของท่านเลยกลายเป็นสำนักใหญ่โตที่มีผู้สน
ใจและฝากตัวเป็นศิษย์ ต่างก็เข้ามาบวชเป็นพระฤษีบำเพ็ญตบะสร้างบารมี
อยู่ในสำนักของท่านอาจารย์ฤษีฤสมมิตร พระอาจารย์ท่านก็อบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยความรักและเมตตา สั่งสอนทั้งทางโลกและทางธรรมประกอบกันไป เพื่อจะให้ศิษย์ทั้ง
หลายได้นำเอามาชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งใดและสิ่งใดไม่ควรเมื่อพิจารณาได้เช่นนั้นแล้วก็จะนำเอาเข้ามาสู่หลักการณ์การปฏิบัติกันต่อไป สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ดีก็จะเก็บเอาไว้ให้อยู่ยงคงทนต่อไป ถ้าเห็นว่าสิ่งใดไม่ดีท่านก็จะต้องรีบสลัดตัดออกไปให้พ้น ดังนั้นบรรดาศิษย์ทั้งหลายจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสต่อองค์อาจารย์ฤษีฤสมมิตรไม่เปลี่ยนแปลงต่างก็อยู่ในโอวาทเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอาจารย์แต่ก็นั่นแหละ ที่ไหนมีดีที่นั่นก็มักมีชั่วคละเคล้าปะปนกันไปไม่มากก็น้อยในกลุ่มคนจำนวนมากยากนักที่จะให้ดีไปหมดทุกคน ย่อมจะต้องมีคนที่แหกคอกนอกคำสั่งสอนกันบ้างล่ะ เพียงแต่ว่าจะมากน้อยเท่าใด นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง......




พระฤษีวาปุระมุนี (ไม่มีภาพ)

  ท่านผู้นี้ก็มีความสามารถอีกท่านหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเพื่อนเกลอกับ พระฤษีมุสิก
มุนี และอยู่ในถิ่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นศิษย์สำนักอาจารย์เดียวกันอีกด้วยตอนเช้าหลังจากพระฤษีทั้งสองออกจากฌาณสมาบัติแล้ว มักจะออกมานั่งสนทนาธรรมกัน ที่บริเวณกองไฟหน้าอาศรม ผิงไฟระงับความหนาวกันอยู่ทุกวัน   ฝ่ายเจ้าลิงทะโมนใหญ่ เมื่อหนีฝนมาอย่างทุลักทุเลทั้งเปียกชุ่มทั้งหนาวสั่น เมื่อมันเห็นพระฤษีทั้งสองกำลังนั่งผิงไฟกันอยู่ มันก็ดีใจเดินตรงเข้าไปจะผิงไฟบ้าง เพื่อจะได้ประทังความหนาว แต่แล้วมันก็ต้องหยุดชะงัก มีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าหากว่ามันจะเข้าไปร่วมผิงไฟกับพระฤษีด้วยลักษณะเช่นนี้ที่ไหนพระฤษีทั้งสองท่านจะยอมให้เข้าไปร่วมกับท่าน ดังนั้นมันจึงคิดหาเล่ห์เหลี่ยมที่จะต้องเข้าไปผิงไฟให้ได้และแล้วสมองของมัน ก็พลันมีความคิดขึ้นมาได้อย่างหนึ่ง ที่ว่ามันจะต้องปลอมแปลงเป็นพระฤษีแล้วเข้าไปนั่งผิงไฟนั่นแหละจึงจะสำเร็จเมื่อคิดได้เช่นนั้นมันจึงลัดเลาะไปรอบๆอาศรม เก็บเอาเปลือกไม้เก่าๆของพระฤษีที่ทิ้งเอาไว้มาห่มครองให้กับตัวมัน แล้วจึงหาไม้เท้า คดๆงอๆ ทำท่าทางให้เหมือนพระฤษี แล้วเดินเข้าไปผิงไฟด้วย มันแสดงกิริยาท่าทางวางมาตรไม่ผิดเพี้ยนจากพระฤษีเลยสักนิด

      ฝ่ายพระฤษีวาปุระก็แปลกใจที่อยู่ๆก็มีพระฤษีแปลกหน้าเข้ามานั่งผิงไฟด้วยถึงแม้จะเพ่งมองและใช้ความสังเกตุ อย่างไร ก็จำไม่ได้ว่าเคยรู้จักมาแต่ก่อนหรือไม่ มองกันไปมองกันมา เจ้าลิงทะโมนมันก็วางท่าได้สมบทบาท พระฤษีวาปุระจึงถามพระฤษีมุสิกขึ้นว่า 'เอ..พระฤษีผู้นี้ดูทีท่าว่าจะไม่เคยเห็นหน้ามาแต่ก่อนนี้เลยนี่ ท่านมาอย่างไรกัน' พระฤษีมุกสิกก็โบกมือช้าๆแล้วกล่าวออกไปตามตรงว่า 'มันใช่ฤษีที่ไหนกัน ลิงต่างหากล่ะ มันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่สมควรจะให้เข้ามา'
      เมื่อพระฤษีวาปุระทราบเช่นนั้นก็คว้าได้ไม้เท้าแล้วลุกขึ้นยืนอย่างรวด
เร็ว เจ้าลิงทะโมนเห็นเช่นนั้นก็ตกใจ คิดว่าพระฤษีจะต้องเอาแน่ด้วยความ
กลัวมันเลยลุกขึ้นกระโดดโครมหมายจะหนีไปให้พ้นจากที่นั้นโดยเร็ว แต่
อนิจจาแทนที่มันจะหนีออกไปจากกองไฟนั้น ด้วยความเผลอของมันที่มิ
ทันได้ระวังเอาไว้ก่อน มันดันกระโดดพรวด เข้าไปในกองไฟผ้าเปลือกไม้
ที่มันห่อหุ้มคลุมอยู่นั้นเลยเกี่ยวพันกับกองฟืน ไฟก็ลุกไหม้ขึ้นมา มันจะดิ้น
สักเท่าใดก็ดิ้นไม่หลุดด้วยไฟอันร้อนแรงที่กำลังลุกโชนอยู่นั้น ก็เลยไหม้ร่าง
ของมันจนกระทั่งขาดใจตาย ร่างของมันดำเป็นตอตะโก
'ก็สมควรแล้วกับชีวิตของลิงชั่วๆ ที่มันฆ่าตัวเอง ไม่มีใครเขาทำมันเลย'
พระฤษีวาปุระกล่าวจบก็ลุกขึ้นเดินกลับอาศรม ต่อจากนั้นมาก็ไม่มีลิงมา
รบกวนพระฤษีอีกเลย......




พระฤษีมุสิกมุนี (ไม่มีภาพ)

***    ท่านผู้นี้ก็มีวิชาอาคมและตบะฌานเก่งกล้า มุ่งมั่นในบารมีธรรม จึงได้มุ่ง
ออกบวชเป็นพระฤษี แล้วมาสร้างอาศรมอยู่ในป่าหิมพานต์ เพื่อหามุมสงบที่
เหมาะสมในการบำเพ็ญ และยังเป็นเพื่อนเกลอของพระฤษีวาปุระมุนีอีกด้วย...


พระฤษีทธิวามุนี (ไม่มีภาพ)

***  ท่านผู้นี้แต่เริ่มแรกเดิมทีเป็นพ่อค้านำสินค้าไปต่างประเทศ ก็บังเอิญเกิดมรสุมทำให้เรือแตก จึงได้เกาะขอนไม้ลอยไปติดเกาะแห่งหนึ่ง จึงขึ้นไปบนเกาะนั้น และก็ไม่มีทางใดที่จะกลับบ้านหรือถิ่นกำเนิดได้จึงบำเพ็ญตนถือเพศเป็นพระฤษีอยู่ในเกาะกลางทะเลนั้นเป็นเวลาแสนนาน จนกระทั่งได้บรรลุฌานขั้นต่ำ จึงมีความมุ่งมั่นมานะพยายามบำเพ็ญตบะต่อไปเพื่อหวังในผลสำเร็จ จะได้กลับถิ่นเดิมได้.....


พระฤษีคาวินท์ (ไม่มีภาพ)

    พระฤษีองค์นี้ก็มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับรามเกียรติ์อีกท่านเป็นพระฤษีที่ชรามากบำเพ็ญตบะอยู่ในป่าด้วยความมุ่งมั่นเคร่งในการปฏิบัติ
    วันหนึ่ง วานรนิลราช ในขบวนการทหารของพระรามเข้ามาถึงอาศรม ใน
ขณะที่พระฤษีกำลังหลับตาเข้าฌานอยู่ ด้วยความซุกซนของวานรและมีนิ
สัยสนุกสนานคึกคะนอง มองเห็นไม้เท้าของพระฤษีวางอยู่ข้างๆ ก็คิดจะแกล้งล้อพระฤษี จึงได้ขโมยไม้เท้าไปซ่อนไว้ เมื่อพระฤษีออกจากฌานแล้วก็หาไม้เท้าไม่พบ จึงโกรธ นิลราชแล้วจึงสาปไปว่า ไม่ว่านิลราชจะทิ้งอะไรลงไปในทะเลหรือว่ามหาสมุทร สิ่งของนั้นจะต้องจมนิ่งอยู่กับที่ จะไม่มีการลอยหรือขยับเขยื้อนไปทางไหนจนกว่าจะได้รับใช้อาสาทำงานให้กับพระรามเมื่อไหร่ จึงจะพ้นคำสาป
    ก็นับว่าไม่เบาเลยทีเดียวสำหรับฤทธาศักดานุภาพของพระฤษีคาวินท์พระ
องค์นี้.....

    พระฤษีคาวินท์ สวมชฎาดอกลำโพงสีกลัก นิลราชได้นำไม้เท้าไปซ่อนใน
น้ำด้วยนึกสนุก พระฤษีจึงสาปว่าหากนำสิ่งใดทิ้งในน้ำก็ขอให้ของสิ่งนั้นจม
อยู่กับที่ เมื่อพระรามจองถนนจึงให้นิลราชรับก้อนหิน นำไปถมเพียงผู้เดียว
จึงพ้นคำสาป....


พระฤษีอินทรปัต (ไม่มีภาพ)

  พระฤษีองค์นี้เป็นชาวเมืองพาราณสี ที่ออกไปบวชตนเป็นพระฤษีบำเพ็ญ
ตบะอยู่ในป่า จนกระทั่งมีความเชี่ยวชาญ ในด้านวิชาความรู้ทั้งอิทธิฤทธิ์และ
บารมี ท่านมีความสามารถที่จะเหาะเหินเดินอากาศไปทุกหนทุกแห่งได้ตาม
ความต้องการอยู่มาวันหนึ่งมีพระโอรศของกษัตริย์ที่ไม่รักในการครอบครองราชสมบัติได้พาพระชายามาอยู่ในป่าหิมพานต์ทางด้านริมฝั่งน้ำพระคงคามหานที เช้าพระโอรสก็ออกไปป่าเพื่อหาผลไม้และเผือกมัน เอามาเก็บเอาไว้บริโภคในเวลาเย็นก็จะเดินกลับมายังที่พัก เป็นอย่างนี้ทุกวัน
วันหนึ่งหลังจากที่พระโอรสออกไปป่าแล้ว นางผู้เป็นพระชายาก็ติดไฟขึ้น
เพื่อจะต้มเผือกมันเอาเก็บไว้ให้พระสวามีได้เสวยเมื่อเวลากลับมาในตอนเย็น ควันที่ก่อไฟนั้นได้กระจายเกลื่อนขึ้นไปในอากาศ เป็นขณะเดียวกันกับที่พระฤษีอินทรปัตเหาะมาทางนั้นพอดีก็รู้ว่าในบริเวณนี้มีคนอยู่จึงเหาะลงมาเพื่อหวังจะได้พักเหนื่อย นางที่กำลังต้มเผือกอยู่นั้นก็มีความยินดี จึงต้อนรับพระฤษีพร้อมทั้งนำผลไม้เผือกมันมาถวายให้กับพระฤษีฉัน ด้วยว่านางนั้นมีรูปร่างสวยงามบาดตาบาดใจพระฤษียิ่งนัก จึงฉันไปพลางคุยไปพลางและก็มองไปพลาง จึงมีความคิดเตลิดเปิดเปิงไปในทางที่ผิดศีลธรรมเนื่องด้วยเกิดกิเลสตัณหาขึ้นมาแทรกแซงเพียงแค่คิดเท่านั้นก็ยังทำให้บารมีฌานของพระฤษีนั้นเสื่อมถอยลงไปได้

                ครั้นว่าฉันอิ่มแล้วก็ยังไม่ค่อยอยากจะออกไปจากที่นั้น ยังนั่งคุยกับนางอยู่นานจนกระทั่งเย็นก็ยังไม่ยอมไป ได้เวลาพระโอรสผู้เป็นพระสวามีของนางนำเอาผลไม้กลับมาจากป่า พระฤษีเห็นเช่นนั้นก็ลุกหนีไปส่วนพระโอรสก็จะแกล้งพระฤษี จึงทำเป็นหยิบดาบ แล้ววิ่งไล่กวด พระฤษีเห็นเช่นนั้นก็ตกใจคิดว่าภัยจะมาถึงตัวแน่ๆ จึงตั้งท่าหมายจะเหาะทะยานหนีขึ้นไปในอากาศ แต่ด้วยอำนาจของกิเลสและตัณหาราคะปกคลุมอยู่ในใจจึงทำให้ฌานบารมีเสื่อม ในขณะที่จะกระโดดขึ้นไปจึงเหาะไม่ได้เหมือนอย่างแต่ก่อน จึงหล่นตูมลงไปในแม่น้ำพระคงคามหานทีนั่นเอง แต่เดชะที่ยังมีบารมีมากอยู่จึงไม่จมน้ำ ยังคงยืนนิ่งอยู่ในน้ำนั้นได้ เมื่อพระโอรสเห็นดังนั้นก็ให้นึกขำจึงกล่าวขึ้นมาดังๆว่า'ดูเถอะผู้ทรงศีลผู้มีบารมีมากๆ ในขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ยังมาปล่อยใจให้กิเลสมันมาครอบคลุมจิตใจเอาไว้ได้ เมื่อพบกับสิ่งที่ยั่วยวนก็อดใจไม่อยู่ เผลอไผลหลงลืมตัวจนกระทั่งฌานเสื่อม ตบะแตกป่นปี้ มันน่าขำสิ้นดี'  พระฤษีได้ฟังเช่นนั้นก็ระลึกถึงตัวเองได้ จึงสำรวมกิริยาให้เป็นปกติ แล้วในที่สุดฌานบารมีของพระฤษีก็กลับมาเหมือนเดิม แล้วจึงเหาะขึ้นไปในอากาศทะยานหนีไปโดยเร็ว

          พระโอรสเมื่อเห็นเช่นนั้นก็ทรงระลึกได้ว่าสิ่งยั่วยวนทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันไม่จีรังยั่งยืนมีแต่ทางเสื่อมเสีย มีแต่ความมืดทั้งแปดด้านอย่างเช่นพระฤษี เมื่อมาพบหญิงงามเข้าแล้ว ถึงกับต้องทำให้ตบะแตกฌานเสื่อมลงไปนั่นมันเป็นเพราะอะไรมิใช่สิ่งนี้หรอกหรือเมื่อคิดได้เช่นนั้นแล้วพระโอรส
จึงพานางผู้เป็นพระชายากลับไปส่งให้อยู่ในเมืองตามถิ่นฐานบ้านเดิมของนางแล้วพระองค์เองก็มุ่งหน้าไปสู่ป่าหิมพานต์อีกครั้ง แล้วจึงบวชตนเป็นพระฤษีถือเพศพรหมจรรย์ บำเพ็ญตบะ สร้างบารมีอยู่ในป่า แห่งนั้นตลอดจนชั่วอายุขัย.....


พระฤษีกสิรมุนี,พระฤษีวชิรามุนี,พระฤษีวาโปนะมุนี,พระฤษีมกันติมุนี(ไม่มีภาพ)

   พระฤษีกสิรมุนี ท่านผู้นี้เคยเป็นข้าราชบริพาร ของท่านท้าวพรหมทัตแห่ง
เมืองพาราณสี ที่เกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงสละโลกภายนอกออกบวชเป็นพระฤษี บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าหิมพานต์ พร้อมทั้งน้องชายอีก ๓ คน ก็พากันไปบวชเป็นพระฤษีทั้งหมด

    พระฤษีวชิรามุนี ผู้ที่เป็นน้องรองจากกสิร ก็ลาท่านท้าวพรหมทัตติดตาม
พี่ชายมาบวชเป็นพระฤษีด้วย บำเพ็ญตบะอยู่ในป่าหิมพานต์เช่นเดียวกัน

    พระฤษีวาโปนะมุนี ผู้นี้ก็เป็นน้องรองจากวชิราลงมา ก็มีความเห็นชอบ
ในทางธรรมว่าเป็นความสว่างในภายหน้า จึงออกมาบำเพ็ญตบะในเพศพระ
ฤษีอีกผู้หนึ่ง

    พระฤษีมกันติมุนี ผู้นี้เป็นน้องคนสุดท้องในจำนวน ๔ คน ก็เห็นดีเห็นงาม
ในเพศสมณะจึงสละทางโลกเข้ามาพึ่งทางธรรม บวชตนเป็นพระฤษีกับเขาบ้าง

    แรกเริ่มเดิมทีทั้ง ๔ คน พี่น้องก็เป็นพราหมณ์ประจำสำนักของท่านท้าว
พรหมทัต แห่งเมืองพาราณสี แต่มีความคิดว่าการอยู่เป็นพราหมณ์รับราชการอยู่นั้น สิ่งที่ได้มันทำให้สุขกายสบายใจก็จริงอยู่ แต่มันก็เป็นเพียงความสุขได้เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น มันเป็นการโกหกหลอกลวงทั้งนั้น เหมือนกับการแสดงโขน ละครที่ครอบเอาไว้ด้วยหัวต่างๆ ที่เรียกว่า'หัวโขน' จึงได้มียศมีอำนาจสูง และจะครอบให้เป็นอะไรก็ได้ แต่ครั้นแสดงจบแล้วก็จะต้องถอดหัวโขนนั้นออก มันก็คือคนธรรมดาไม่มีอำนาจ ไม่มีฤทธิ์เหมือนอย่างที่มีหัวโขนสวมอยู่ ก็จะต้องเดินดินกินข้าวแกงต่อไป มันไม่มีความสว่างไสวที่จะส่องนำทางไปยังโลกหน้าได้เลย หากหลงงมงายติดอยู่ในกองกิเลสอย่างที่เป็นและที่เห็นกันอยู่จำเจแล้ว ก็คงไม่มีทางหลุดพ้นไปได้เลย
    เมื่อทั้ง ๔ พราหมณ์พี่น้องตกลงกันดังนั้นแล้ว ก็พากันขึ้นไปกราบทูลลา
ออกจากข้าราชการ แล้วมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าหิมพานต์ ต่างฝ่ายต่างสร้างอาศรม
แล้วสำรวมใจบำเพ็ญธรรมประโยชน์กันอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ จึงมีความอด
ทนเป็นที่ตั้ง ทั้งมานะพยายามหวังว่าจะต้องกระทำให้สำเร็จ
    ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็ย่อมอยู่ที่นั่น ทั้ง ๔ พระฤษีจึงได้
สำเร็จในอภิญญาฌานกันทั้งหมด แต่ก็ยังมิได้เพียงพอยังคงปฏิบัติกันต่อ
ไปไม่หยุดยั้ง    เวลาผ่านล่วงเลยไป จนกระทั่งพระฤษีกสิร พระฤษีผู้พี่ใหญ่ก็ได้ถึงกาลกิริยา ดับขันธ์ทิ้งร่างกายขึ้นไปบังเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ในเทวโลก แต่เทพบุตรนั้นก็ยังมีความรำลึกนึกถึงน้องชายในอดีตชาติทั้ง ๓ อยู่ทุกขณะ จึงลงมาเยี่ยมพระฤษีที่เป็นน้องทั้ง ๓ เป็นประจำทุกวันมิได้ขาด คงปฏิบัติเช่นนั้นตลอดมา
    ต่อมาพระฤษีวชิรามุนีก็เกิดเป็นโรคแทรกแซงขึ้นมา มีอาการหนาวสั่น
จนกระทั่งร่างกายผอมแห้งจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกแต่ก็ยังมีความเพียร
ในการบำเพ็ญไม่ยอมเลิกล้ม
    ฝ่ายเทพบุตรผู้เป็นพี่ใหญ่ในอดีต ก็ลงมาหาอีกเช่นเคย เมื่อเห็นอาการ
ของพระฤษีผู้ที่เคยเป็นน้องเช่นนั้นก็มีจิตสงสาร จึงประทานขวานเพชรอัน
ศักดิ์สิทธิ์ให้กับพระฤษีวชิรามุนีแล้วสั่งว่า จงเก็บรักษาขวานเพชรกายสิทธิ์
เล่มนี้เอาไว้ให้ดีจะใช้ให้ไปหาฟืนมาสุมไฟผิงกันหนาวก็ได้ หรือว่าจะใช้ให้
ไปทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น เทพบุตรสั่งเสร็จก็รีบเหาะกลับไปวิมานในสวรรค์ พระ
ฤษีวชิรามุนีก็ค่อยมีความสุขสดชื่นขึ้นมาได้ แล้วมุ่งมั่นในการบำเพ็ญตบะ
ต่อไป
    ต่อมาอีกวันเทพบุตรก็ลงมาเยี่ยมน้องชายอีกคนที่ชื่อพระฤษีวาโปนะ
พร้อมทั้งถามว่า มีความเดือดร้อนในเรื่องอันใดบ้าง พระฤษีก็บอกว่า ความ
เป็นอยู่ในที่นี้ก็สบายดีอยู่หรอก แต่ทว่าในป่านี้มีความกันดารมาก จึงขาดแคลนอาหารที่จะบริโภค เทพบุตรจึงประทานหม้อทิพย์ให้กับพระฤษีแล้วสั่งว่าถ้าหากต้องการนมข้นหรือเนยใส ก็ให้อธิษฐานแล้วคว่ำหม้อกายสิทธิ์นี้ลงไปต้องการสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะไหลออกมาจากหม้อไม่หยุด จนกว่าจะสั่งว่าพอ
สั่งพระฤษีเสร็จแล้วเทพบุตรก็เหาะกลับสวรรค์ไป
    วันต่อมา เทพบุตรก็เหาะลงมาหาพระฤษีมกันติผู้มีอดีตเป็นน้องคนสุดท้องแล้วก็ถามว่ามีความเดือดร้อนอะไรบ้าง พระฤษีก็บอกว่าเป็นดินแดนแห่งป่าหิมพานต์ก็มีแต่ความสงบเงียบสงัด แต่ว่าอาศรมนี้อยู่ห่างไกลจากผู้อื่น จึงเดือดร้อนแต่เรื่องสัตว์ร้ายที่จะคอยมารบกวนเท่านั้น เทพบุตรจึงมอบกระดิ่งวิเศษให้กันพระฤษี แล้วสั่งว่าหากมีสัตว์ร้ายเข้ามารบกวนก็จงเขย่ากระดิ่งนี้ขึ้นแล้วสัตว์เหล่านั้นมันก็จะตกใจกลัวแล้วพากันหนีไป และศัตรูที่ร้ายๆ เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่งนี้แล้วก็จะต้องอ่อนน้อมยอมเป็นมิตรและบรวารของเราแต่จงอย่าใช้ในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล ภัยมันจะเกิดขึ้นมาได้ ว่าแล้วเทพบุตรก็เหาะกลับสวรรค์เช่นเคย
    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระฤษีทั้ง ๓ พี่น้องก็มีแต่ความสุขสะดวกสบายใน
การบำเพ็ญตบะ เพราะมีของกายสิทธิ์คอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา....

              พระฤษีพระองค์นี้มีอิทธิฤทธิ์และบารมีสูงส่ง เป็นพระอาจารย์ของทศกัณฑ์ เดิมทีพระฤษีองค์นี้ ก็เป็นวงค์พรหมอีกองค์หนึ่งซึ่งได้ลงมาบำเพ็ญตบะสร้างบารมีอยู่ในโลกมนุษย์(ในรามเกียรติ์เรียกว่าพระฤษีโคบุตร)
    ทศกัณฑ์ได้ร่ำเรียนวิชาจากพระฤษีเศรษฐบุตรจนเก่งกล้าสามารถ มีความชำนาญทั้งคาถาอาคมเวทย์มนตร์อันขลังและศักดิ์สิทธิ์สามารถกำบังกายหายตัวได้ จะย่อตัวให้เล็กลงก็ได้ จะทำให้ตัวใหญ่เท่ากับภูเขาก็ได้ และจะแปลงกายเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นตามความต้องการ และยังสอนให้ยิงธนูเก่งอีกด้วย   ในครั้งหนึ่งทศกัณฑ์ได้ร่ำลาพระฤษีเที่ยวเล่นไปในป่า ด้วยการเหาะขึ้นไปในอากาศจนกระทั่งมาถึงนคร มหิษมดี ในแคว้นไหหัยชนบท พบสวนดอกไม้ของอรชุนก็เหาะลงไปในอุทยานนั้นแล้วจึงเที่ยวเก็บดอกไม้และผลไม้เล่นเป็นที่สนุกสนานด้วยความซุกซนและฮึกเหิม ด้วยยังเป็นวัยรุ่นที่มีจิตใจภาลสันดาลต่ำ จึงกลั่นแกล้งหักต้นไม้ ถอนต้นไม้ในสวนนั้นอย่างสนุกมือ
    ในขณะนั้นก็พอดีพระอรชุนออกมาในอุทยานและพบว่าทศกัณฑ์หักต้นไม้เล่นทำให้ได้รับความเสียหาย ท้าวอรชุนก็โกรธจึงเข้ามาต่อว่า แต่แทนที่ทศกัณฑ์จะเกรงกลัวกลับหยิ่งยโสโอหัง ในที่สุดก็เกิดการต่อสู่กันขึ้นทั้งสองฝ่ายต่างก็มีความสามารถด้วยกันทั้งคู่จึงสู้กันอยู่เป็นนานและแล้วในที่สุดท่านท้าวพันมือ(อรชุนมีมือถึงพันมือ)ได้ทีจึงแผลงศรพญานาคเข้าไปมัดทศกัณฑ์ ถึงแม้ว่าจะดิ้นรนหรือใช้คาถาอาคมในการแก้มัดก็ไม่สำเร็จ เพราะพระอรชุนเก่งกว่าจึงจับตัวทศกัณฑ์พาไปตระเวนไปในอากาศเพื่อที่จะประจานให้ใครๆได้รับรู้ในความชั่วช้าเลวทรามของทศกัณฑ์ ในระหว่างนั้นก็บันดาลให้เสียงกึกก้องกัมปนาทบนท้องฟ้า ตามระยะทางที่ท้าวอรชุนพาทศกัณฑ์เหาะมาทั้งแผ่นฟ้าสะท้านสะเทือนไปตลอดทาง
    พระฤษีเศรษฐบุตรได้ยินดังนั้นก็ตกใจและสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น จึงสำรวมจิตเข้าฌาณดู ก็รู้ว่าทศกัณฑ์ผู้เป็นศิษย์ได้เสียท่าท่านท้าวอรชุนเสียแล้วพระฤษีรู้ดังนั้นจึงรอช้ามิได้รีบร่ายเวทย์สำแดงฤทธิ์เหาะตามไปเพื่อที่จะหาทางช่วยเหลือศิษย์ ครั้นมาทันกันพระฤษีก็อ้อนวอนท้าวอรชุนขอร้องให้ปล่อยทศกัณฑ์ด้วยบอกว่าทศกัณฑ์นั้นยังเป็นเด็กนัก ยังไม่รู้จักผิดถูกแต่อย่างใด ซึ่งก็มีนิสัยซุกซนไปตามประสาของเด็กทั่วไปจงขอได้โปรดอภัยโทษในครั้งนี้ด้วยเถิดจะได้เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ เพราะว่าในอนาคตข้างหน้าเด็กคนนี้จะได้เป็นใหญ่เป็นโตถึงขั้นเป็นเจ้านครลงกาองค์ใหม่เลยทีเดียวแหละ จงนึกว่าปล่อยลูกนกลูกกาเอาบุญสักครั้งเถิด
    ท้าวอรชุนก็ใจอ่อน ยอมปล่อยทศกัณฑ์ถวายกับพระฤษีเศรษฐบุตร แล้วจึงอโหสิไม่เอาโทษและยังได้กระทำสัจจะวาจาเป็นไม่ตรีกันทั้งสองฝ่ายเสร็จพระฤษีก็พาทศกัณฑ์ศิษย์รักกลับไปยังอาศรม
   แต่ในตำนานแห่งพระคัมภีร์รามายณะฉบับบสันสกฤต ได้ระบุชื่อพระฤษีองค์นี้ไว้คือ พระฤษีปุลัสตยะมุนี แต่ในรามเกียรติ์เรียกว่า พระฤษีโคบุตร
   ถึงแม้ชื่อเสียงจะผิดเพี้ยนกันไปบ้างก็จงอย่าไปสนใจอะไรมากนัก ก็เพราะว่ามากคัมภีร์มากตำนาน มากคนแต่ง ก็ต้องมากเรื่องมากราวเป็นอย่างนี้แหละ แต่เมื่อลงท้ายแล้วก็เป็นจุด
หมายเดียวกัน......

 

พระฤษีสัตยพรต (ไม่มีภาพ)

พระฤษีองค์นี้เดิมเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้น ทระวิระ พระองค์มีศรัทธา มุ่งมั่นในทางธรรมเป็นที่ตั้งจึงทรงถือเพศเป็นพระฤษี มีความพยายามบำเพ็ญตบะสร้างบารมี เคร่งครัดอยู่ในศีลธรรม ชอบสันโดษและภิกขาจารไปทั่วๆ เสวยแต่น้ำเป็นอาหารไม่ยอมเสวยอย่างอื่นที่เป็นอาหารหนัก จึงมีบารมีเพิ่มพลังขึ้นมาอย่างมหาศาล
    วันหนึ่งหลังจากที่พระฤษีออกจากตบะฌานแล้ว จึงเสด็จลงไปยังฝั่งแม่น้ำ กฤตะมาลา หวังว่าจะชำระล้างร่างกายและชำระบาปทั้งปวงให้หมดสิ้นไป พระฤษีจึงเอาพระหัตถ์กวักน้ำขึ้นมาหวังจะได้ดื่มกินประทังชีวิต แต่อะไรกันนั่น น้ำที่วักขึ้นมามีลูกปลาตัวน้อยๆที่มีความสวยงามติดมาด้วย พระฤษีจึงชงักไม่ยอมเอาน้ำเข้าปากเพราะกลัวจะผิดศีล พระฤษีหยุดพิจารณาปลาตัวนั้นอยู่นาน และแล้วลูกปลาตัวนั้นก็ได้กล่าววิงวอนกับพระฤษีเป็นภาษามนุษย์ ' หลวงตาเจ้าขา อย่าได้ปล่อยให้ฉันลงน้ำเลยนะ ถ้าหากหลวงตาปล่อยฉันลงน้ำไปแล้ว ฉันก็คงจะไม่รอด จะต้องกลายเป็นเหยื่อของสัตว์ที่ใหญ่กว่าเป็นแน่สงสารฉันเถอะ หลวงตาผู้ใจดีอย่าปล่อยเลยนะตานะ' พระฤษีได้ยินเช่นนั้นก็สงสารอย่างสุดซึ้ง เลยนำเอาปลาตัวนั้นขึ้นไปเลี้ยงไว้ในหม้อที่อาศรม
    วันรุ่งขึ้นพระฤษีก็เดินไปดูปลาน้อยในหม้อ ก็ต้องตกใจเพราะว่าปลาช่างโตไวเสียจริงๆ โตจนกระทั่งเต็มหม้อ ปลาขอร้องว่า ' ตาจ๋าตา ที่อยู่ของฉันช่างเล็กและคับแคบเหลือเกิน รู้สึกว่าอึดอัดเป็นที่สุด จะขยับตัวก็ไม่ได้ ตาจ๋า ช่วยหาที่อยู่ใหม่ให้ใหญ่กว่านี้เถิด ' ครั้นแล้วพระฤษีก็เอาปลาไปปล่อยลงในสระ แต่แล้วชั่วขณะเดียวเท่านั้นปลาก็โตเต็มสระ พระฤษีก็เอาไปปล่อยในทะเลสาป แต่ก็โตเต็มทะเลสาปอีก พระฤษีจึงต้องเอาปลาไปปล่อยในมหาสมุทร ปลาจึงกล่าวกับพระฤษีว่า ' ในมหาสมุทรนั้นทั้งกว้างทั้งใหญ่โตและลึกเป็นที่สุด ไหนเลยฉันจะรอดพ้นอันตรายได้ มีทั้ง นาค จระเข้ และเหราสารพัดรวมอยู่ในนั้น'
        พระฤษีก็มีความฉงน คิดทบทวนดูอย่างถ้วนถี่แล้วจึงลงความเห็นว่า จะต้องมีอะไรซ่อนเร้นอยู่เป็นแน่ทีเดียว เพราะเห็นว่าผิดหลักธรรมชาติเป็นอย่างมาก เมื่อพระฤษีท่านใคร่ครวญจนถ้วนถี่แล้ว ท่านจึงกล่าวออกไปว่า ' ท่านผู้ศักดิ์สิทธิ์ ท่านทรงจำแลงกายมาเป็นปลาด้วยกิจอันใดหรือ' ปลาพระ
ผู้เป็นเจ้าจึงเปิดเผยความจริงว่าเป็นองค์พระนารายณ์อวตารลงมาช่วยเหลือมนุษย์ ด้วยอีก ๗ วันน้ำจะท่วมโลก ท่านจะส่งเรือสำเภาใหญ่มาให้ ขอให้พระฤษีจงปฏิบัติตาม ให้นำพระฤษีลงไปในเรือนั้น ๗ องค์ จงเก็บพืชพันธุ์ธัญญาหารและสรรพยาต่างๆอย่างละเล็กละน้อยให้ครบถ้วน และจงเลือกสรร บรรดาสัตว์อย่างละคู่เอาลงไว้ในเรือนั้น พร้อมทั้งมนุษย์ชายหญิงอีกคู่หนึ่ง ท่านจะพาไปให้พ้นจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ขอให้พระฤษีจงเตรียมตัวจัดเตรียมข้าวของเอาไว้ให้ครบถ้วน เมื่อถึงวันนั้นจะมารับแล้วปลาก็หายวับไป
ครั้นถึงตามกำหนดที่นัดหมาย พระนารายณ์ในร่างปลาก็ปรากฏขึ้น ได้ประทานเรือสำเภาใหญ่มาให้อีกลำหนึ่ง พระฤษีสัตยพรตก็มิได้รอช้า รีบเกณฑ์ข้าวของทั้งคนทั้งสัตว์ลงในเรือสำเภาครบจำนวนแล้วเอาพญานาคมาเป็นเชือกผูกหัวเรือทางด้านหาง ส่วนทางด้านหัวก็ผูกกับปลาอวตาร ปลาใหญ่นั้นก็นำพาลากจูงเรือให้แล่นไปในมหาสมุทร และก็สอนธรรมกับพระฤษีตลอดไป พอเรือสำเภาใหญ่แล่นออกจากท่าไปแล้ว ฝนแสนห่าก็ตกลงมาทั้งวันทั้งคืนในระยะเวลาอันยาวนานติดต่อกันถึง ๓ เดือน น้ำในมหาสมุทรก็หนุนขึ้นมา จึงทำให้น้ำท่วมโลก มนุษย์และสัตว์พากันตาย พืชพันธุ์ธัญญาหารก็มิได้หลงเหลืออีกเลย เมื่อมองไปก็จะมีแต่น้ำกับฟ้าไม่เห็นฝั่ง พระฤษีก็นั่งปฏิบัติธรรมมาในเรือ พระนารายณ์ก็นำเอาเรือนั้นมาโยงไว้ที่ภูเขามัสยะ แล้วก็อบรมสั่งสอนทั้งในทางโลกและทางธรรม ให้พระฤษีได้จดจำนำเอไปปฏิบัติ ครั้นได้เวลา ปลาพระนารายณ์ก็พาเรือสำเภาใหญ่นั้นกลับมา ก็เป็นเวลาที่พระพรหมาทรงตื่นขึ้นจากบรรทมพอดี น้ำที่ท่วมโลกก็แห้งแล้ว เรือก็ถึงฝั่งพอดี แล้วปลาพระนารายณ์ก็ดำน้ำหายไป พระฤษีก็เกณฑ์ทั้งมนุษย์และสัตว์ฺขึ้นฝั่ง ทั้งพืชพันธุ์ต่างๆ ก็นำเอาไปเพาะปลูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ ทั้งมนุษย์และสัตว์อย่างละคู่นั้นจึงได้เพาะพันธุ์กันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ นี่แหละที่มีชีวิตเกิดมาอยู่ในโลกนี้ได้ก็เพราะ พระนารายณ์และพระฤษีสัตยพรตนั้น มีพระคุณกับมนุษย์และสัตว์มากที่สุด ในฐานะที่เป็นพระบิดาของมนุษย์ทั้งหลาย นามเดิมของพระฤษีสัตยพรตนั้นก็คือ พระมนู
ไวรัสวัต หลังจากที่เป็นพระบิดาของมวลมนุษย์แล้ว ท่านจึงได้นามใหม่ว่า พระประชาบดี .......

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


บทความ
บทความทั่วไป
รวม LINK โหลดสื่อธรรม
การลดกรรม 45อย่าง ผลของกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า
ประวัติพระพุทธศาสนา
ตำนานพระฤาษีและการบูชาพระฤาษี
พระแม่คายตรีมนตรา เทพีแห่งมนต์ตรา
108 พระนาม พระลักษมี
บูชาองค์อย่างไร
ประวัติพญานาค
พญานาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธทำนาย-2
พุทธทำนาย-1
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง
ตำนาน ประวัติ พระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 8
ตำนานฤาษี 108ตน ตอน 7
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 6
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 5
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอน 4
ตำนานพระฤาษี 108 ตน ตอน 3
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอนที่ 2
ตำนานพระฤาษี 108 ตน
ปู่ฤาษีนารอด พ่อแก่ บรมครูปู่ฤาษี
ปู่หมอชีวกโกมารภัจจ์
เทวดาประจำตัว,เทวดามาสร้างบารมี,มีองค์
เหตุใดเทวดาตายแล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
กุมารทอง กุมารี
ดูการ์ตูนประวัติพระพุทธศาสนา ออนไลน์
พระราม राम
หนุมาน ผู้เก่งกล้า ว่องไว องค์รักษ์พระราม
นางกวัก เทวีแห่งการค้ารุ่งเรือง
พระแม่โพสพ เทวีแห่งข้าวปลาอาหาร
พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)
พระแม่คงคา गङ्गा เทวีแห่งสายน้ำ
พระขันทกุมาร मुरुगन เทพแห่งสงคราม
พระกฤษณะ कृष्ण อวตารของพระนารายณ์
พระแม่อุมาเทวี 9 ปาง,พระแม่ปาราวตี पार्वती 9 ปางนวราตรี
พระนางสุรัสวดี (Saraswati, सरस्वती)
พระแม่กาลีหรือกากิลา काली อวตาลหนึ่งของพระแม่อุมา
พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง
พระแม่ลักษมี (Lakshmi,Sanskrit: लक्ष्मी)
พระตรีศักติ,พระแม่สามภพ,พระศักติ,พระแม่ตรีเอกานุภาพ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์
พระมหาตรีมูรติ The Trimurti (English: ‘three forms’; Sanskrit: त्रिमूर्तिः trimūrti)
พระแม่อุมาเทวี(พระแม่ทุรคา,พระแม่กาลี) Parvati (Devanagri: पार्वती, Kālī: काली)
พระพิฆเนศมหาเทพ Ganesha (Sanskrit: गणेश)
พระนามต่างๆของ พระศิวะมหาเทพ
ศิวลึงก์ लिङ्गं สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
พระศาสดามหาศิวะเทพ (พระอิศวร) शिव Shiva
ศาสนาฮินดู