เมนู
จดหมายข่าว
กล่องอิสระ
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ21/09/2012
อัพเดท12/04/2013
ผู้เข้าชม1312021
แสดงหน้า2729324
คำค้น




พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง

อ่าน 5539 | ตอบ 1



 


พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่ง เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกคน พระพรหมจึงเป็นผู้รู้ความเคลื่อนไหวของสรรพชีวิต เหตุการณ์สำคัญของโลกล้วนอยู่ในสายตาของพระพรหม พระพรหมคือมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่หนึ่งในสามตรีมูรติ ทรงรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาเสมอ ผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา
  
   พระพรหม มีพระนามหลากหลาย เช่น พระพรหมมา พระพรหมา พระพรหมธาดา ท้าวมหาพรหม ปชาบดี อาทิกวี อาตมภู โลกาธิปดี ฯลฯ
ในคติพุทธศาสนา พระพรหม เป็นชาวสวรรค์ชั้นสูงขั้นหนึ่งที่สูงกว่าเทวดาในกามาวจรภพทั้ง 6 ชั้น เรียกว่า 'พรหม' พระพรหมอยู่ในภูมิที่สูงกว่ากามาวจรภพ อยู่ในสวรรค์ที่เรียกว่า พรหมโลก (พรหมโลก)
 
พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า 'รูปพรหม' มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า 'อรูปพรหม' มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม
 

'พระพรหม' ในทางพระพุทธศาสนา เป็น 'พระพรหมผู้วิเศษ' ล้วนแต่บุรุษเพศทั้งสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องมีการถ่ายคูตรมูถ คืออุจจาระ ปัสสาวะอันลามกเหม็นร้าย สรีระร่างกายหน้าตาแห่งบรรดาพระพรหมนั้น มีสัณฐานกลมเกลี้ยงสวยงามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวเลื่อม ประภัสสรรุ่งเรืองกว่ารัศมีพระอาทิตย์ และพระจันทร์ หลายพันเท่า เพียงแต่หัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมทั้งหลายเหยียดยื่นออกไปหวังจะให้ส่อง รัศมีไปทั่วห้วงจักรวาลก็ย่อมจักทำได้ อวัยวะร่างกายที่ต่อกัน คือ หัวเข่าก็ดี แขนก็ดี มีสัณฐานกลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อกันนั้นหามิได้ เกศเกล้าแห่งพระพรหมทั้งหลายนั้นงามนัก ปรากฏโดยมากมีศีรษะประดับด้วยชฎา สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน


 

  
กำเนิดของพระพรหมมีมากมายหลายตำรา

   ถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระวิษณุเป็นใหญ่ (ไวษณพนิกาย) จะกล่าวถึง กำเนิดพระพรหม ว่า พระพรหมถือกำเนิดในดอกบัว ซึ่งดอกบัวนี้ผุดขึ้นมาจากพระนาภี (สะดือ) ของพระวิษณุ นั่นหมายถึง พระวิษณุมีมาก่อนทุกสรรพสิ่ง พระองค์ต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้

   ถ้าเป็นคัมภีร์ปุราณะของพราหมณ์ฝ่ายพระศิวะเป็นใหญ่ (ไศวะนิกาย) จะกล่าวถึงกำเนิดพระพรหมว่า พระศิวะใช้พระหัตถ์ข้างหนึ่งลูกพระหัตถ์อีกข้างหนึ่ง บังเกิดแสงขึ้นมาในพระหัตถ์ พระพรหมก็ออกมาจากแสงนั้นเอง ด้วยเหตุผลที่พระศิวะต้องการสร้างโลก จึงให้กำเนิดพระพรหมขึ้นมาเพื่อภารกิจนี้ ตำนานนี้พระศิวะจึงเป็นผู้มีมาก่อนทุกสรรพสิ่ง
  
  
   สำหรับคัมภีร์ปุราณะของ ฝ่ายพระพรหม เองนั้นบันทึกไว้ว่า พระพรหมเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีสิ่งใดมาก่อน แท้จริงแล้วพระองค์ไม่มีจุดกำเนิด คือ มีอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นของจักรวาลแล้ว เรียกสภาวะของพระพรหมนี้ว่า อาปวะ เมื่อพระพรหมประสงค์จะสร้างสิ่งต่างๆ จึงได้แบ่งตัวเองออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งคือเพศชาย ภาคหนึ่งคือเพศหญิง (พระแม่สรัสวดี) ร่วมมือกันสร้างเทพองค์อื่นๆ เทวดา มนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณทั้งหลายในโลก

พระพรหม เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ทรงมีอานุภาพในการลิขิตชะตาชีวิต โดยควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎแห่งกรรม พระพรหมจึงเป็นผู้คุ้มครองคนดี และลงโทษผู้กระทำบาป ผู้มีกิเลสตัณหา จะถูกพระพรหมลิขิตให้ชีวิตมีแต่ความลำบากยากเข็ญ ผู้มีจิตใจเอื้ออารีย์ต่อผู้อื่น พระพรหมจะบันดาลให้มีความสุขและสมบูรณ์ในชีวิต การเสียสละต่อส่วนรวมคือการถวายความจงรักภักดีต่อพระพรหม พระพรหมจะบันดาลพรให้ผู้เสียสละนั้นมีแต่ความสุขตลอดกาล

   ผู้ศรัทธาในพระพรหม เมื่อสวดบูชาต่อพระองค์แล้ว พระองค์จะประทานปัญญาในการประกอบอาชีพ ปกป้องให้ห่างจากศัตรู ประทานความแข็งแรง ความรู้แจ้ง ชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ และมอบความบริสุทธิ์ทางจิตวิญญาณแก่ผู้นั้น
 

  
   พระพรหมทรงโปรดความเงียบสงบ ไม่วุ่นวาย มีพระทัยอ่อนโยน รักสรรพชีวิตที่พระองค์สร้างมาเสมอ เมื่อผู้ศรัทธาต้องการสักการะ พระพรหมก็โปรดการจัดการอย่างเรียบง่าย มีความตั้งใจ แต่ไม่ใหญ่โตวุ่นวาย พระองค์โปรดให้ลูกศิษย์สวดภาวนาว่า 'สัก ชิต เอกัม พรหมมา' หรือ 'โอม อาฮัม พรหมมา อัสมิ' เป็นร้อยๆ พันๆ หมื่นๆ แสนๆ เที่ยว และให้นั่งสมาธิตั้งจิตเพ่งไปที่พระองค์ การที่ผู้ศรัทธาได้อยู่กับพระพรหมตามลำพัง นั่งสมาธิและสวดภาวนาให้นานที่สุด พระองค์จะโปรดมาก เพราะพระองค์ทรงสอนว่า การนั่งอยู่กับที่และระลึกถึงพระองค์ บริโภคมังสวิรัติ ไม่ออกไปสร้างสิ่งเดือดร้อนให้ผู้อื่น คือการตอบแทนพระคุณพระพรหมได้ดีที่สุด
ศาสตราวุธของพระพรหม

 

   ลูกประคำ
   คือ การสวดมนต์ภาวนาต่อพระพรหมเพื่อแผ่เมตตาไปยังสรรพชีวิต
  
   ดอกบัว
   คือ ความสวยงามของธรรมะ ความดีงาม
   พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์กระทำในสิ่งที่ดีงามและมีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ
  
   คัมภีร์
   คือ การตั้งตนอยู่ในความดีความชอบ
   การศึกษาบทสวดและโยคะเพื่อมุ่งตรงสู่พระผู้เป็นเจ้า
  
   หม้อน้ำ
   คือ กมัณฑลุ หรือ หม้อกลัศ ที่นักพรตตวงน้ำจากแม่น้ำคงคา
   ไปใช้ในพิธีกรรมบูชาเทพต่างๆ (น้ำมนต์บริสุทธิ์)

   ศาสตราวุธทั้ง 4 นี้คือศาสตราวุธหลัก แต่ก็ยังมีศาสตราวุธอีกมากมาย
   แล้วแต่ช่างจะจินตนาการปั้นหรือวาด เพื่อเสริมความหมายขึ้นมา เช่น ธนู หอก กระจก
   สังข์ ดาบ มีด กริซ ช้อนตักน้ำมันไฟ จักร คฑา ตลอดจนเครื่องดนตรีต่างๆ
   

   พระพรหมเป็นผู้ให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท
   พระพักตร์ทั้ง 4 ของพระพรหมจึงหมายถึง พระเวททั้ง 4
   พระพักตร์ด้านตะวันออก คือ ฤคเวท / พระพักตร์ด้านใต้ คือ ยชุรเวท
   พระพักตร์ด้านตะวันตก คือ สามเวท / พระพักตร์ด้านเหนือ คือ อาถรรพ์เวท

   

   พระพรหมผู้สร้างโลกได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา โดยวรรณะต่างๆของชาวอินเดีย มีกำเนิดมาจากส่วนต่างๆของพระพรหม ดังนี้
   ชนชั้นพราหมณ์ (นักบวช) เกิดจากพระโอษฐ์
   ชนชั้นกษัตริย์ (นักรบ) เกิดจากพระพาหา
   ชนชั้นแพศย์ (พ่อค้าทั่วไป) เกิดจากพระเพลา
   ชนชั้นศูทร (กรรมกร) เกิดจากพระบาท

 


 

พระแม่สุรัสวดี คือพระชายาของพระพรหม แต่ทั้งสองพระองค์มักไม่ปรากฎพร้อมๆกันทั้งในรูปวาดและรูปปั้น
   พระพรหมมักปรากฎพร้อมกับ พระวิษณุ และ พระศิวะ เป็นสามมหาเทพผู้ปกครองโลก นรก สวรรค์
   หากทั้งสามพระองค์ได้รวมร่างกันจะปรากฎเป็น พระตรีมูรติ (พระตัตตาเตรยะ) มหาเทพผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล
  
   สัตว์พาหนะของพระพรหม คือ หงส์
   สัตว์พาหนะของพระแม่สรัสวตี คือ หงส์และนกยูง

 

  

   --- การบูชาพระพรหม ---
  
   แท่น หรือ หิ้งบูชา
   ถ้าองค์เทวรูปมีขนาดใหญ่ ควรสร้างเป็นศาลอยู่นอกอาคาร
   แต่ถ้ามีขนาดไม่เกิด 1 ศอกสามารถประดิษฐานในบ้านได้
   และเนื่องจากพระพรหมมี 4 พระพักต์ การจัดวางเทวรูปในบ้านจึงไม่ควรให้พระพักต์ใดพระพักต์หนึ่งหันไปชิดผนังมากเกินไป
   ควรเว้นระยะออกมาจากผนังพอสมควร ถ้าเป็นเทวาลัยหรือศาลนอกบ้าน จะต้องเป็นเทวาลัยที่เปิดออกทั้ง 4 ทิศ
   โต๊ะหมู่บูชาและการทาสี ควรใช้ผ้า สีขาว สีเหลือง สีชมพู หรือสีอ่อนๆไม่ฉูดฉาดและห้ามใช้สีดำ

   การกราบไหว้พระพรหม
   หากสถานที่กราบไหว้เป็นเทวาลัยขนาดใหญ่ ควรไหว้พระพรหมให้ครบทั้ง 4 พระพักตร์
   เริ่มจากพระพักต์กลาง เดินวนไปตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาที่เดิม

   เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
   ดอกไม้ กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก
   กำยานและธูป ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
   อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด
   ผลไม้ ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย
   สามารถถวาย ธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี
   ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้) ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด

บทสวดพระพรหมของพุทธ
(เลือกสวดบทใดก็ได้)

- โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง
พรหมมาสะหะปะตินามะ
อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา
นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ

- โอม พรหมมะเณ นะมะ โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง
สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง
พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง

- โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ

- พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ
นะชาลีติ นะมะพะทะ
นะมะอะอุ เมกะอะอุ

- ปิโย เทวะ มะนุสสานัง ปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง
ปิโย นาคะ สุปันณานัง ปินินทะริยัง นะมามิหัง

 


 




 

ขอขอบคุณ wikipedia,siamganesh

ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง
 
Natthathip [182.53.10.xxx] เมื่อ 16/08/2013 15:03
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


บทความ
บทความทั่วไป
รวม LINK โหลดสื่อธรรม
การลดกรรม 45อย่าง ผลของกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า
พุทธประวัติ คือ ประวัติของพระพุทธเจ้า
ประวัติพระพุทธศาสนา
ตำนานพระฤาษีและการบูชาพระฤาษี
พระแม่คายตรีมนตรา เทพีแห่งมนต์ตรา
108 พระนาม พระลักษมี
บูชาองค์อย่างไร
ประวัติพญานาค
พญานาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธทำนาย-2
พุทธทำนาย-1
พระมหาโพธิสัตว์กวนอิม 84 ปาง
ตำนาน ประวัติ พระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 8
ตำนานฤาษี 108ตน ตอน 7
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 6
ตำนานฤาษี 108 ตน ตอน 5
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอน 4
ตำนานพระฤาษี 108 ตน ตอน 3
ตำนานปู่ฤาษี 108 ตน ตอนที่ 2
ตำนานพระฤาษี 108 ตน
ปู่ฤาษีนารอด พ่อแก่ บรมครูปู่ฤาษี
ปู่หมอชีวกโกมารภัจจ์
เทวดาประจำตัว,เทวดามาสร้างบารมี,มีองค์
เหตุใดเทวดาตายแล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
กุมารทอง กุมารี
ดูการ์ตูนประวัติพระพุทธศาสนา ออนไลน์
พระราม राम
หนุมาน ผู้เก่งกล้า ว่องไว องค์รักษ์พระราม
นางกวัก เทวีแห่งการค้ารุ่งเรือง
พระแม่โพสพ เทวีแห่งข้าวปลาอาหาร
พระแม่ธรณีหรือแม่พระธรณี भारत माता (Mother Earth)
พระแม่คงคา गङ्गा เทวีแห่งสายน้ำ
พระขันทกุมาร मुरुगन เทพแห่งสงคราม
พระกฤษณะ कृष्ण อวตารของพระนารายณ์
พระแม่อุมาเทวี 9 ปาง,พระแม่ปาราวตี पार्वती 9 ปางนวราตรี
พระนางสุรัสวดี (Saraswati, सरस्वती)
พระแม่กาลีหรือกากิลา काली อวตาลหนึ่งของพระแม่อุมา
พระพรหม (Brahmā ,Sanskrit: ब्रह्मा) คือ พระเจ้าผู้สร้าง
พระแม่ลักษมี (Lakshmi,Sanskrit: लक्ष्मी)
พระตรีศักติ,พระแม่สามภพ,พระศักติ,พระแม่ตรีเอกานุภาพ
พระวิษณุหรือพระนารายณ์
พระมหาตรีมูรติ The Trimurti (English: ‘three forms’; Sanskrit: त्रिमूर्तिः trimūrti)
พระแม่อุมาเทวี(พระแม่ทุรคา,พระแม่กาลี) Parvati (Devanagri: पार्वती, Kālī: काली)
พระพิฆเนศมหาเทพ Ganesha (Sanskrit: गणेश)
พระนามต่างๆของ พระศิวะมหาเทพ
ศิวลึงก์ लिङ्गं สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
พระศาสดามหาศิวะเทพ (พระอิศวร) शिव Shiva
ศาสนาฮินดู